PDPA คืออะไร?

PDPA หรือ Personal Data Protection Act คือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งมีผลบังคับใช้ไปเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 แต่ยังมีบางหมวดที่ต้องขยายวันบังคับใช้ออกไปเป็นวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 แทน เช่น หมวด 2 ในเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หมวด 3 เรื่องสิทธิเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หมวด 5 การร้องเรียน หมวด 6 ความรับผิดทางแพ่ง หมวด 7 บทกำหนดโทษ รวมไปถึงในมาตรา 95 และมาตรา 96 ในบทเฉพาะกาล และจะมีการบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบในวันที่ 1 มิถุนายน 2564

เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิในส่วนใดบ้าง

การให้สิทธิเจ้าของข้อมูลนับเป็นส่วนสำคัญของตัวพรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่มีสิทธิดังต่อไปนี้

✔ สิทธิในการแก้ไขข้อมูล

✔ สิทธิในการขอรับข้อมูล

✔ สิทธิในการที่จะได้รับแจ้ง

✔ สิทธิในการถอนความยินยอม

✔ สิทธิในการขอระงับการใช้ข้อมูล

✔ สิทธิในการให้โอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคล

✔ สิทธิในการเข้าถึง ขอสำเนา หรือให้เปิดเผยถึงการได้มาของข้อมูลส่วนบุคคล

✔ สิทธิในการขอคัดค้านการเก็บรวบรวมใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

✔ สิทธิในการร้องเรียนกรณีที่ผู้ควบคุม หรือผู้ประมวลผลไม่ได้ปฏิบัติตามพรบ.นี้

✔ สิทธิในการไม่ตกอยู่ภายใต้การตัดสินใจอัตโนมัติเพียงอย่างเดียว

✔ สิทธิในการขอให้ลบ หรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคลเมื่อข้อมูลส่วนบุคคลหมดความจำเป็นในการเก็บรักษาไว้ตามวัตถุประสงค์

✔ สิทธิในการร้องเรียน เจ้าของข้อมูลมีสิทธิร้องเรียนในกรณีผู้ควบคุม ผู้ประมวลผล รวมทั้งลูกจ้างหรือผู้รับจ้างของผู้คุม ผู้ประมวลผล ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย

เมื่อมีการแจ้งความประสงค์ในสิทธิต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ PDPA ใน พ.ร.บ.นี้ ได้กำหนดระยะในการทำตามคำร้องขอให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน