E-Tax tool
ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับเงินอิเล็กทรอนิกส์
พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการในการติดต่อสื่อสารที่อาศัยการพัฒนาการเทคโนโลยีทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้มีความสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ และต้องมีการรองรับสถานะทางกฎหมายของข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ให้เท่ากับการทำเป็นหนังสือ หรือหลักฐานที่เป็นหนังสือ การรับรองวิธีการส่ง และรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ การใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) เพื่อเป็นพยานหลักฐานที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ กรมสรรพากร จะมีการบังคับให้ องค์กร/ธุรกิจ ใช้งานระบบ E-Tax ในอนาคตอันใกล้ เพื่อให้สอดคล้องตามโครงการระบบภาษี และเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้แผนยุทธศาตร์โครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment)
ประโยชน์ของ E-Tax Invoice
เพื่อองค์กรที่ต้องการระบบ Paperless ลดต้นทุนได้จริง ถูกต้องตาม พ.ร.บ. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และมาตรฐานสรรพากร ลดเวลา ลดพื้นที่จัดเก็บ รับ-ส่งเอกสารผ่าน e-Mail ความปลอดภัยระดับสูง e-Tax ลดต้นทุนกระดาษ
ลดต้นทุนในพิมพ์ใบกำกับภาษีการจัดเก็บ
ช่วยลดภาระในการจัดเตรียมเอกสาร
สามารถตรวจสอบว่าเป็นผู้ส่งข้อมูลจริง
เปลี่ยนสู่ Digital Transformation
ลดความซ้ำซ้อนขั้นตอนการดำเนินงาน
เราสามารถช่วยคุณได้ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงการเก็บภาษีที่กำลังก้าวไปสู่รูปแบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax) เป็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบของการดำเนินการยื่นภาษีใหม่ได้




Functionalities ของ MARCO E-Tax
- รองรับการเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบ ERP และ Non ERP (Excel File , Text File , View Table)
- จัดเก็บข้อมูลดังกล่าวลงในฐานข้อมูล (เช่น mySQL, postgreSQL, SQL Server, Oracle)
- แสดงผลผ่าน Web Browser (Google Chrome , MS Edge , Mozila Firefox , Safari)
- รองรับการแสดงผลในรูปแบบ Responsive (Optional)
- รองรับข้อมูล ดังนี้ (ใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ ใบรับ (ใบเสร็จรับเงิน) รายงานซื้อ (Optional) รายงานขาย (Optional))
- Workflow and Task Assignment (Optional)
สำหรับหน่วยงาน หรือองค์กรใด ที่สนใจ E-Tax Solution
ที่ถูกต้องตาม พ.ร.บ. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และมาตรฐานสรรพากร สามารถลดเวลา ลดขนาดพื้นที่จัดเก็บ การรับ-ส่งเอกสารผ่าน e-Mail ความปลอดภัยระดับสูง โดยหน่วยงาน/ องค์กร สามารถจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการลงลายมือชื่อดิจิทัลตามรูปแบบและเงื่อนไขที่กำหนด และนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร การนำส่งข้อมูลที่เหมาะสมกับลักษณะของกิจการ โดย
สามารถทำได้ 3 รูปแบบ จัดทำข้อมูลรูปแบบ XML File สำหรับการซื้อขายสินค้าและบริการ เท่านั้น ซึ่งต้องลงลายเซ็นดิจิตอล (Digital Signature), แปลงหรือทำข้อมูลในรูปแบบ PDF, Word, Excel
ผู้ประกอบกิจการจะต้องศึกษาวิธีการนำส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ที่จะส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้รับบริการ ด้วยเอกสารที่จัดทำในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นตามกฎหมายกำหนด ได้แก่ ใบกำกับภาษี (เต็มรูป), ใบกำกับภาษี (อย่างย่อ), ใบเพิ่มหนี้, ใบลดหนี้ และใบรับ (ใบเสร็จรับเงิน) โดยจัดทำในรูปแบบของไฟล์ เช่น .PDF, .PDF/A-3, XML หรืออื่น ๆ ซึ่งมีการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) และให้ส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้า หรือผู้รับบริการ ผ่าน 2 วิธี ได้แก่
วิธีที่ 1 ส่งมอบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สอดคล้องกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ซึ่งต้อง เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามวิธีที่ตกลงกัน เช่น ส่งทางอีเมล เป็นต้น ซึ่งต้อง จัดเก็บข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
วิธีที่ 2 เมื่อผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการร้องขอใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ในรูปแบบกระดาษ สามารถนำไฟล์ข้อมูลที่จัดทำขึ้นในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์นั้น จัดพิมพ์ออกทาง เครื่องพิมพ์ และส่งมอบเอกสารกระดาษแก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการก็ได้ โดยต้องปรากฏข้อความ บนเอกสารว่า “เอกสารนี้ได้จัดทำ และส่งข้อมูลให้แก่กรมรรพากรด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์” ซึ่งผู้ซื้อสินค้า หรือผู้รับบริการต้องจัดเก็บเอกสารในรูปแบบกระดาษ

ที่มา : www.rd.go

รายละเอียดเนื้อหาข้อมูลบนใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ก็จะเหมือนกับที่อยู่บนกระดาษ จะมีรายละเอียดเพิ่มเติม คือ
- เป็นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ประเภท
- .pdf (Portable Document Format)
- .doc, .docx (Microsoft Word Document)
- .xls, .xlsx (Microsoft Excel)
- ใน 1 ไฟล์ต้องมีขนาดไม่เกิน 3 MB
- ข้อมูลรายละเอียดที่อยู่ในไฟล์เอกสารจะต้องไม่ใช่รูปภาพ ห้ามใช้การถ่ายภาพหรือการแปลงไฟล์จากเอกสารกระดาษให้เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
- ต้องมีการลงลายเซ็นดิจิตอล (Digital Signature)หรือประทับรับรองเวลา (Time Stamp) ผ่านระบบ e-tax invoice by email เพื่อให้เอกสารนี้ถูกต้องตามกฎหมาย และสามารถใช้ต่อสู้ในชั้นศาลได้ ในกรณีที่เกิดข้อพิพาท ทั้งนี้วิธีการประทับรับรองนี้จะทำด้วยวิธีไหนขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกิจที่จะกล่าวต่อไป
เอกสารที่ทำเป็นอิเล็กทรอนิกส์และต้องส่งสรรพากรไม่ได้มีแค่ใบกำกับภาษี ยังมีเอกสารเหล่านี้ด้วย
- ใบกำกับภาษี (Tax Invoice) ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร
- ใบเพิ่มหนี้ (Debit Note) ตามมาตรา 86/9 แห่งประมวลรัษฎากร
- ใบลดหนี้ (Credit Note) ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร
- ใบรับ (Receipt) ตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร